วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบ o-net ม.3

ข้อ 1. ธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศ ต้องจัดเก็บเอกสารแบบใด
     ตามตัวเลข  ตามตัวอักษร  ตามภูมิศาสตร์  ตามชื่อสาขา

     ข้อ 2. ทำไมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จึงใช้ระบบเลขฐานสอง
     เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใช้ภาษาเครื่อง  เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจภาษามนุษย์  เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็ดทรอนิกส์ที่ทำงานแบบแอนะล็อก  เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานอบบดิจิทัลโดยใช้แรงดันไฟฟ้าแสดงสถานะเพียงสองสถานนะ

     ข้อ 3. กระบวนงานในข้อใดเกิดขึ้นเป็นสิ่งแรกเมื่อเปิเครื่องคอมพิวเตอร์
     เช็คสถานะของฮาร์ดแวร์  โหลดระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำหลัก  หน่วยประมวลผลกลางประมวลชุดคำสั่งในหน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (RAM)  หน่วยประมวลผลกลางประมวลชุดคำสั่งในหน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว(ROM)

     ข้อ 4. ข้อใดเป็นความหมายของโปรแกรมระดับสูง
     ภาษามนุษย์ที่ใช้สื่อสารกัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เป็นต้น  ภาษาที่ประกอบด้วยตัวเลขฐานสองซึ่งคอพิวเตอร์ใช้ประมวลผลได้ทันที  ภาษาที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนคำสั่งมาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  ภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องหรือที่เรียกว่า ภาษาอิงเครื่อง (machine-oriented language)

     ข้อ 5. ข้อใดเป็นระบบปฏิบัติการทั้งหมด
     Unix , Mac OS , Microsoft Office ,  Linux , Windows , Mac OS , Symbian  PDA , WWW, Linux , Windows  BIOS , Symbian , IPX , RAM

     ข้อ 6. ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงช่วยลดภาวะโลกร้อน
     ปิดเครื่องเมื่อไม่ใช้งาน และพิมงานเมื่อจำเป็น  เลือกใช้จอแอลซีดีและปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย  ใช้คอมพิวเตอร์วันละ 1 ชม. และรักษาความสะอาดอยู่เสมอ  ใช้เชือต่อระบบเครือข่ายและใช้เครื่องพิมพ์แบบ inkjet เท่านัน

     ข้อ 7. ข้อใดคือวิธีทำรายงานโดยค้นคว้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่ถูกต้อง
     ค้นหาบทความในอินเทอร์เน็ตโดยใช้ search engine แล้วคัดลอกมาเป็นรายงาน  ค้นข้อมูลที่เกี่ยข้องโดยใช้ search engine แล้วคัดลอกมาเป็นรายงานพร้อมอ้างอิงเอกสารต้นฉบับ  ค้นข้อมูลเพื่อทำรายงานโดยใช้ search engine แล้วคัดลอกมาเป็นรายงานพร้อมอ้างอิง search engine  ค้นหาบทความในอินเทอร์เน็ตโดยใช้ search engine แล้วอ่านข้อความ สรุปใจความรายงาน พร้อมอ้างอิงเอกสารต้นฉบับ

     ข้อ 8. เครื่องคอมพิวเตอร์พิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ออกแบบ โดย ชาลส์ แบบเบจ เรียกว่าอะไร
     ELECRONIC COMPUTER  ANALYTICAD ENGINE  ELETRO MECHANOCAL  PNEUMATIC ENGINE

     ข้อ 9. 1 KB = ?
     1000 Byte  1024 Byte  1042 Byte  1240 Byte

     ข้อ 10. http://www.mbac.ac.th คืออะไร
     URL  Wab Page  E-mail  Home page

     ข้อ 11. ข้อใดไม่ใช้ระบบปฏิบัติการ
     Dos  Unix  Flash  Windowns

     ข้อ 12. การถอดรหัสคำสั่งของภาษาระดับสูงทีละคำสั่งและปฏิบัติงานตามคำสั่งตามผลที่ได้จากการถอดรหัสแล้วค่อยทำคำสั่งถัดไปเป็นการทำงานของซอฟแวร์ตัวหนึ่งเรียกว่า
     COMPILER  INTERPRETER  EDITOR  LOADER

     ข้อ 13. ไวรัสคอมพิวเตอร์คืออะไร
     ชื้อโรคคอมพิวเตอร์  เครื่องมือทำลายคอมพิวเตอร์  โปรแกรมทำลายข้อมูล  โปรมแกรมทำงานผิดพลาด

     ข้อ 14. อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการเขียนผังงานคือ
     Template  Connector  Flowchart  Platechart

     ข้อ 15. ข้อใด้เป็นลักษณะการทำงานเช่นเดียวกับ RESET
     CTRL+C  CTRL+SCROLL+LOCK  CTRL+ALT+DEL  CTRL+SHIFT

     ข้อ 16. การสื่อสารโดยผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ จากผู้ขายไปสู่ลูกค้าเป็นธุรกรรมข้อใด
     E-Mail  E-Banking  E-Exhibition  E-Advertising

     ข้อ 17. PRINTER SHARING คือ
     การส่ง ELECTRNIC MAIL  การใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกัน  การใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน  ลูกข่ายหรือสถานีทำงาน

     ข้อ 18. สายโคแอกเชียลมีกี่ชนิด
     2 ชนิด  3 ชนิด  4 ชนิด  5 ชนิด

     ข้อ 19. RJ45 ใช้เชื่อมต่อกับอะไร
     Hub  Scanner  Printer  Speaker

     ข้อ 20. จอภาพ ซี อาร์ ที คือ
     การใช้พิมพ์แบบรายงานทางกระดาษพิมพ์แบบธรรมดา  เป็นเครื่องอุปกรณ์รับและแสดงผลของคอมพิวเตอร์  พิมพ์ได้ครั้งละหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น  เครื่องพิมพ์แบบนี้สามารถจะพิมพได้ครั้งละ 1 หน้า

     ข้อ 21. Modem เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่...
     เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์และ Wireless  เป็นตัวส่งสัญญาณผ่าน Hub  เป็นตัวแปลสัญญาณ Analog เป็น Digital ทางเดียว  เป็นตัวแปลงสัญญาณจากสัญญาณ Analog เป็น Digital และจาก Digital เป็น Analog

     ข้อ 22. CPU เบอร์ 8086 มีบัสแอดเดรสที่บิต และใช้หน่วยความจำได้กี่ MB
     24 บิต 16 MB  32 บิต 4 MB  32 บิต 16 MB  20 บิต 1 MB

     ข้อ 23. หน่วยประมวลผลกลางประมวลข้อมูลจำนวนหนึ่ง หน่วยรับข้อมูลจะอ่านข้อมูลถัดไปเข้าไว้ในหน่วยความจำ เรียวว่าอะไร
     buffer  off-line  spooline  Mismatch

     ข้อ 24. ซอฟแวร์หมายถึงอะไร
     โปรแกรมชนิดหนึ่งที่ใช้ในการประมวลผล  ชุดคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมวลผล  ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน  ระบบปฏิบัติการ

     ข้อ 25. ข้อใดคือการสั่งซื้อสินค้าและบริการผ่านเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต
     E-News  E-Payment  E-Learning  E-Sourcing

     ข้อ 26. ข้อใดเป็นซอฟแวร์ระบบ
     Office  Pascal  C  Dos

     ข้อ 27. การใดเป็นการนำระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในงานอย่างเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุน
     ใช้ในงานฟาร์เลี้ยงปลาในกระชัง  ใช้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนบุคคล  ใช้ในการปลูกผักในแปลงเกษตรดั้งเดิม  ใช้ในการควบคุมการผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนรถยนต์โรงงาน

     ข้อ 28. "การเตรียมวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ โดยปอกเปลือกท่อนไม้ด้วยเครื่องปอกเปลือก ล้างท่อนไม้และส่งเข้าสู่เครือ่งสับให้มีขนาดเล็ก แล้วคัดขนาดก่อนเข้าสู่การแยกเส้นใย" สิ่งใดที่จัดเป็นตัวป้อน (Input) ในระบบเทคโนโลยี
     ท่อนไม้  เครื่องปอกเปลือก  เครื่องสับไม้  น้ำที่ใช้ล้าง

     ข้อ 29. การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องกำหนดรหัสแทนข้อมูลเช่นรหัสแอสกี (ASCII) เนื่องจากเหตุผลหลักข้อใด
     เพื่อให้สามารถเข้าใจชุดคำสั่ง  เพื่อความรวดเร็วในการใช้งาน  เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องประมวลชุดคำสั่งที่เขียนโดยภาษาโปรแกรม  เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกัน

     ข้อ 30. "บริษัทผลิตผลไม้แปรรูปแห่งหนึ่งได้ศึกษาวัฒนธรรมการกินของคนจีนเพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาลำไยแปรรูปที่จะส่งไปขายยังประเทศจีน"การศึกษาวัฒนธรรมการกินของคนจีนเป็นเนตอนใดในการบวนการเทคโนโลยี
     กำหนดปัญญหา  รวบรวมข้อมูล  เลือกวิธีการ  ปรับปรุงแก้ไข

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกแบบเทคโนโลยี

เทคโนโลยีกับการออกแบบ     เทคโนโลยี  หมายถึง  สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น  เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น  อุปกรณ์  เครื่องมือ  เครื่องจักร  วัสดุต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ เช่น  กระบวนการเทคโนโลยี  เป็นต้น
     1.  ประโยชน์และผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี
          เราสามารถนำเครื่องใช้ที่ได้จากเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ได้  ดังนี้ค่ะ
          1.  ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน  เช่น
               -   ใช้รถบรรทุกดินมาถมที่  เพื่อสร้างอาคารบ้านเรือน  หรือที่อยู่อาศัย
               -  ใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีในการผลิตเสื้อผ้า  เครื่องนุ่งห่มให้ได้ครั้งละมาก ๆ โดยใช้เวลาน้อยลง
               -  ใช้เทคโนโลยีในการผลิตอาหารให้ได้ครั้งละมาก ๆ และเก็บไว้ได้นาน ๆ
               -  นำเทคโนโลยีและกระบวนการทางเทคโนโลยีมาใช้ในการรักษาโรคให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
          2.  ทำให้มีความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน  เช่น
               -  ขับรถยนต์ไปทำงานหรือไปที่ต่าง ๆ
               -   ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
               -  ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูลเรื่องที่ต้องการทราบ
               -  ใช้เครื่องซักผ้าแทนการซักผ้าด้วยมือ
               -  ใช้เครื่องดูดฝุ่นแทนการกวาดพื้นด้วยไม้กวาด
ตัวอย่าง  ผลกระทบการใช้เทคโนโลยี
    
การใช้เทคโนโลยีจะช่วยให้การดำรงชีวิตของคนเราสะดวกสบายมากขึ้น  แต่เราก็ควรใช้เทคโนโลยีให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วย  เพื่อไม่ให้เกิดความเดือนร้อนนะคะ
     การใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง
     -  เปิดวิทยุเสียงดังพอประมาณ  ทำให้ได้รับความเพลิดเพลิน
     -  ขับรถด้วยความระมัดระวัง  ทำให้ชีวิตาปลอดภัย
     การใช้เทคโนโลยีที่ไม่ถูกต้อง
     -  เปิดวิทยุเสียงดังมากรบกวนผู้อื่น  ทำให้ผู้อื่นเกิดความรำคาญ
     -  ขับรถประมาท  ทำให้เกิดอุบัติเหตุ  อาจสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้
     2.  กระบวนการเทคโนโลยี
         
การนำกระบวนการของเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบ  สร้าง  และพัฒนาของใช้  มีดังนี้
          กระบวนการเทคโนโลยี
          1.  ค้นหาปัญหาหรือสาเหตุ
          2.  คิดหาวิธีแก้ปัญหาและเลือกวิธีที่ดีที่สุด
          3.  ออกแบบและปฏิบัติตามแนวทางที่คิดไว้
          4.  นำไปใช้และปรับปรุงแก้ไข
     3.  ความสำคัญและประโยชน์ของกระบวนการเทคโนโลยี
         
กระบวนการเทคโนโลยีมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการทำงาน  ดังนี้
          1)  ช่วยให้ได้งานที่มีความสวยงาม  ทั้งรูปร่าง  รูปทรง  โดยอาศัยวิธีการออกแบบในลักษณะต่าง ๆ
          2)  ช่วยให้ได้สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดประโยชน์  และสามารถนำไปใช้ได้จริง  เพราะว่ามีการออกแบบและปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
          3)  ทำให้เกิดการหมุนเวียนของทรัพยากร  โดยนำทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
          4)  ช่วยให้ทำงาน  และพัฒนางานประดิษฐ์อย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับและได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพ
     4.  การออกแบบ  สร้าง  และพัฒนาของใช้
         
เราสามารถนำกระบวนการเทคโนโลยีมาใช้ในการประดิษฐ์ของใช้ได้  เช่น
          1.  หาปัญหาหรือสาเหตุ                         ต้องการถุงใส่ของ  เพราะกระเป๋านักเรียนไม่สามารถใส่ของที่ต้องการ
                                                                นำไปโรงเรียนได้หมด
          2.  คิดหาวิธีแก้ปัญหา                            o ซื้อถุงกระดาษมาใส่
               และเลือกทางที่ดีที่สุด                       o ขอถุงพลาสติกจากแม่ค้า
                                                                þ ประดิษฐ์ถุงผ้าใส่ของ
          3.  ลงมือปฏิบัติตามแนวทาง                     ประดิษฐ์ถุงผ้าใส่ของ
          ถุงผ้าใส่ของ
          วัสดุ – อุปกรณ์
          1.  เสื้อยืดที่ไม่ใส่แล้ว 1 ตัว
          2.  สายผ้าสำหรับทำหูถุง
          3.  เข็ม  ด้าย
          4.  กรรไกร
          วิธีทำ
          1.  นำเสื้อมาตัดตรงส่วนแขนและคอออก  แล้วกลับเอาด้านในออก
          2.  เย็บริมผ้าด้านที่ตัดออกให้เป็นก้นถุง  พลิกผ้าเอาด้านนอกออกจะได้ตัวถุง  นำสายผ้ามาเย็บเป็นส่วนหูของถุง  จะได้ถุงผ้าสำหรับใส่ของที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อ  และยังมีลวดสายแปลกใหม่  สวยงาม  นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย
          ลองนำสิ่งของมาใส่ถุง  ถ้าพบข้อบกพร่องจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความปลอดภัยในชีวิต

หลักการออกแบบผิตภัณฑ์

หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์

การออกแบบมีหลักการพื้นฐาน โดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทเรียนเรื่อง “ องค์ประกอบศิลป์ ” คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และพื้นผิว นำมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงามโดยมีหลักการ ดังนี้

1. ความเป็นหน่วย (Unity)
ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้นๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน

2. ความสมดุลหรือความถ่วง (Balancing)
เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดในเรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ มีหลักความสมดุลอยู่ 3 ประการ

2.1 ความสมดุลในลักษณะเท่ากัน (Symmetry Balancing)
คือมีลักษณะเป็นซ้าย-ขวา บน-ล่าง เป็นต้น ความสมดุลในลักษณะนี้ดูและเข้าใจง่าย

2.2 ความสมดุลในลักษณะไม่เท่ากัน (Nonsymmetry Balancing) คือมีลักษณะสมดุลกันในตัวเองไม่จำเป็นจะต้องเท่ากันแต่ดูในด้านความรู้สึกแล้วเกิดความสมดุลกันในตัวลักษณะการสมดุลแบบนี้ผู้ออกแบบจะต้องมีการประลองดูให้แน่ใจในความรู้สึกของผู้พบเห็นด้วยซึ่งเป็นความสมดุลที่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกันได้ เช่น ใช้ความสมดุลด้วยผิว (Texture) ด้วยแสง-เงา (Shade) หรือด้วยสี (Colour)

2.3 จุดศูนย์ถ่วง (Gravity Balance) การออกแบบใดๆที่เป็นวัตถุสิ่งของและจะต้องใช้งานการทรงตัวจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วงได้แก่ การไม่โยกเอียงหรือให้ความรู้สึกไม่มั่นคงแข็งแรง ดังนั้นสิ่งใดที่ต้องการจุศูนย์ถ่วงแล้วผู้ออกแบบจะต้องระมัดระวังในสิ่งนี้ให้มาก ตัวอย่างเช่น เก้าอี้จะต้องตั้งตรงยึดมั่นทั้งสี่ขาเท่าๆกัน การทรงตัวของคนถ้ายืน 2 ขา ก็จะต้องมีน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน ถ้ายืนเอียงหรือพิงฝา น้ำหนักตัวก็จะลงเท้าข้างหนึ่งและส่วนหนึ่งจะลงที่หลังพิงฝา รูปปั้นคนในท่าวิ่งจุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ใด ผู้ออกแบบจะต้องรู้และวางรูปได้ถูกต้องเรื่องของจุดศูนย์ถ่วงจึงหมายถึงการทรงตัวของวัตถุสิ่งของนั่นเอง

3. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ ( Relativity of Arts)
ในเรื่องของศิลปะนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลายขั้นตอนเพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน อันได้แก่

3.1 การเน้นหรือจุดสนใจ (Emphasis or CentreofInterest) งานด้านศิลปะผู้ออกแบบจะต้องมีจุดเน้นให้เกิดสิ่งที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น โดยมีข้อบอกกล่าวเป็นความรู้สึกร่วมที่เกิดขึ้นเองจากตัวของศิลปกรรมนั้นๆ ความรู้สึกนี้ผู้ออกแบบจะต้องพยายามให้เกิดขึ้นเหมือนกัน

3.2 จุดสำคัญรอง ( Subordinate)
คงคล้ายกับจุดเน้นนั่นเองแต่มีความสำคัญรองลงไปตามลำดับซึ่งอาจจะเป็นรองส่วนที่ 1ส่วนที่ 2 ก็ได้ ส่วนนี้จะช่วยให้เกิดความลดหลั่นทางผลงานที่แสดง ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย

3.3 จังหวะ ( Rhythem)
โดยทั่วๆไปสิ่งที่สัมพันธ์กันในสิ่งนั้นๆย่อมมีจังหวะ ระยะหรือความถี่ห่างในตัวมันเองก็ดีหรือสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์อยู่ก็ดีจะเป็นเส้น สี เงา หรือช่วงจังหวะของการตกแต่ง แสงไฟ ลวดลาย ที่มีความสัมพันธ์กันในที่นั้นเป็นความรู้สึกของผู้พบเห็นหรือผู้ออกแบบจะรู้สึกในความงามนั่นเอง

3.4 ความต่างกัน ( Contrast)
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนไหวไม่ซ้ำซากเกินไปหรือเกิดความเบื่อหน่าย จำเจ ในการตกแต่งก็เช่นกัน ปัจจุบันผู้ออกแบบมักจะหาทางให้เกิดความรู้สึกขัดกันต่างกันเช่น เก้าอี้ชุดสมัยใหม่แต่ขณะเดียวกันก็มีเก้าอี้สมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ด้วย 1 ตัว เช่นนี้ผู้พบเห็นจะเกิดความรู้สึกแตกต่างกันทำให้เกิดความรู้สึก ไม่ซ้ำซาก รสชาติแตกต่างออกไป

3.5 ความกลมกลืน ( Harmomies)

ความกลมกลืนในที่นี้หมายถึงพิจารณาในส่วนรวมทั้งหมดแม้จะมีบางอย่างที่แตกต่างกันการใช้สีที่ตัดกันหรือการใช้ผิว ใช้เส้นที่ขัดกัน ความรู้สึกส่วนน้อยนี้ไม่ทำให้ส่วนรวมเสียก็ถือว่าเกิดความกลมกลืนกันในส่วนรวม ความกลมกลืนในส่วนรวมนี้ถ้าจะแยกก็ได้แก่ความเน้นไปในส่วนมูลฐานทางศิลปะอันได้แก่ เส้น แสง-เงา รูปทรง ขนาด ผิว สี นั่นเอง

ผลิตภัณฑ์ที่ดีย่อมเกิดมาจากการออกแบบที่ดีในการออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นเกณฑ์ในการกำหนดคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่ดีเอาไว้ว่าควรจะมีองค์ประกอบอะไรบ้างแล้วใช้ความคิดสร้างสรรค์ วิธีการต่างๆ ที่ได้กล่าวมาเสนอแนวคิดให้ผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมตามหลักการออกแบบโดยหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นักออกแบบควรคำนึงนั้นมีอยู่ 9 ประการ คือ

• หน้าที่ใช้สอย ( FUNCTION)

• ความปลอดภัย (SAFETY)

• ความแข็งแรง (CONSTRUCTION)

• ความสะดวกสบายในการใช้ (ERGONOMICS)

• ความสวยงาม (AESTHETIES)

• ราคาพอสมควร (COST)

• การซ่อมแซมง่าย (EASE OF MAINTENANCE)

• วัสดุและการผลิต (MATERIALS AND PRODUCTION)

• การขนส่ง (TRANSPORTATION)

1 หน้าที่ใช้สอย

หน้าที่ใช้สอยถือเป็นหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกที่ต้องคำนึงผลิตภัณฑ์ทุกชนิดต้องมีหน้าที่ใช้สอยถูกต้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย ผลิตภัณฑ์นั้นถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) แต่ถ้าหากผลิตภัณฑ์ใดไม่สามารถสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์นั้นก็จะถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยไม่ดีเท่าที่ควร (LOW FUNTION)

สำหรับคำว่าประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) นั้น ดลต์ รัตนทัศนีย์ ( 2528 : 1) ได้กล่าวไว้ว่าเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจขอให้ดูตัวอย่างการออกแบบมีดหั่นผักแม้ว่ามีดหั่นผักจะมีประสิทธิภาพในการหั่นผักให้ขาดได้ตามความต้องการ แต่จะกล่าวว่ามีดนั้นมีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) ยังไม่ได้ จะต้องมีองค์ประกอบอย่างอื่นร่วมอีกเช่น ด้ามจับของมีดนั้นจะต้องมีความโค้งเว้าที่สัมพันธ์กับขนาดของมือผู้ใช้ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการหั่นผักด้วย และภายหลังจากการใช้งานแล้วยังสามารถทำความสะอาดได้ง่าย การเก็บและบำรุงรักษาจะต้องง่ายสะดวกด้วย ประโยชน์ใช้สอยของมีดจึงจะครบถ้วนและสมบูรณ์

เรื่องหน้าที่ใช้สอยนับว่าเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนมาก ผลิตภัณฑ์บางอย่างมีประโยชน์ใช้สอยตามที่ผู้คนทั่วๆ ไปทราบเบื้องต้นว่า มีหน้าที่ใช้สอยแบบนี้ แต่ความละเอียดอ่อนที่นักออกแบบได้คิดออกมานั้นได้ตอบสนองความสะดวกสบายอย่างเต็มที่ เช่น มีดในครัวมีหน้าที่หลักคือใช้ความคมช่วยในการหั่น สับ แต่เราจะเห็นได้ว่ามีการออกแบบมีดที่ใช้ในครัวอยู่มากมายหลายแบบหลายชนิดตามความละเอียดในการใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะที่แตกต่างเช่น มีดสำหรับปอกผลไม้ มีดแล่เนื้อสัตว์ มีดสับกระดูก มีดบะช่อ มีดหั่นผัก เป็นต้น ซึ่งก็ได้มีการออกแบบลักษณะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน ถ้าหากมีการใช้มีดอยู่ชนิดเดียวแล้วใช้กันทุกอย่างตั้งแต่แล่เนื้อ สับบะช่อ สับกระดูก หั่นผัก ก็อาจจะใช้ได้ แต่จะไม่ได้ความสะดวกเท่าที่ควร หรืออาจได้รับอุบัติเหตุขณะที่ใช้ได้ เพราะไม่ใช่ประโยชน์ใช้สอยที่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้เป็นการเฉพาะอย่าง

การออกแบบเก้าอี้ก็เหมือนกัน หน้าที่ใช้สอยเบื้องต้นของเก้าอี้ คือใช้สำหรับนั่ง แต่นั่งในกิจกรรมใดนั่งในห้องรับแขก ขนาดลักษณะรูปแบบเก้าอี้ก็เป็นความสะดวกในการนั่งรับแขก พูดคุยกัน นั่งรับประทานอาหาร ขนาดลักษณะเก้าอี้ก็เป็นความเหมาะสมกับโต๊ะอาหาร นั่งเขียนแบบบนโต๊ะเขียนแบบ เก้าอี้ก็จะมีขนาดลักษะณที่ใช้สำหรับการนั่งทำงานเขียนแบบ ถ้าจะเอาเก้าอี้รับแขกมาใช้นั่งเขียนแบบ ก็คงจะเกิดการเมื่อยล้า ปวดหลัง ปวดคอ แล้วนั่งทำงานได้ไม่นาน ตัวอย่างดังกล่าวต้องการที่จะพูดถึงเรื่องของหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและละเอียดอ่อนมาก ซึ่งนักออกแบบจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด

2 ความปลอดภัย

สิ่งที่อำนวยประโยชน์ได้มากเพียงใดย่อมจะมีโทษเพียงนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสะดวกต่างๆ มักจะเกิดจากเครื่องจักรกลและเครื่องใช้ไฟฟ้า การออกแบบควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องแสดงเครื่องหมายไว้ให้ชัดเจนหรือมีคำอธิบายไว้

ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กต้องคำนึงถึงวัสดุที่เป็นพิษเวลาเด็กเอาเข้าปากกัดหรืออม นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นสำคัญมีการออกแบบบางอย่างต้องใช้เทคนิคที่เรียกว่าแบบธรรมดาแต่คาดไม่ถึงช่วยในการให้ความปลอดภัย เช่น การออกแบบหัวเกลียววาล์ว ถังแก๊ส หรือปุ่มเกลียว ล็อกใบพัดของพัดลมจะมีการทำเกลียวเปิดให้ย้อนศรตรงกันข้ามกับเกลียวทั่วๆ ไปเพื่อความปลอดภัยสำหรับคนที่ไม่ทรายหรือเคยมือไปหมุนเล่นคือ ยิ่งหมุนก็ยิ่งขันแน่นเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้

3 ความแข็งแรง

ผลิตภัณฑ์จะต้องมีความแข็งแรงในตัวของผลิตภัณฑ์หรือโครงสร้างเป็นความเหมาะสมในการที่นักออกแบบรู้จักใช้คุณสมบัติของวัสดุและจำนวน หรือปริมาณของโครงสร้าง ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะต้องมีการรับน้ำหนัก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ต้องเข้าใจหลักโครงสร้างและการรับน้ำหนัก อีกทั้งต้องไม่ทิ้งเรื่องของความสวยงามทางศิลปะ เพราะมีปัญหาว่าถ้าใช้โครงสร้างให้มากเพื่อความแข็งแรงจะเกิดสวนทางกับความงาม นักออกแบบจะต้องเป็นผู้ดึงเอาสิ่งสองสิ่งนี้เข้ามาอยู่ในความพอดีให้ได้

ส่วนความแข็งแรงของตัวผลิตภัณฑ์เองนั้นก็ขึ้นอยู่ที่การออกแบบรูปร่างและการเลือกใช้วัสดุ และประกอบกับการศึกษาข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องรับน้ำหนักหรือกระทบกระแทกอะไรหรือไม่ในขณะใช้งานก็คงต้องทดลองประกอบการออกแบบไปด้วยแต่อย่างไรก็ตาม ความแข็งแรงของโครงสร้างหรือตัวผลิตภัณฑ์นอกจากเลือกใช้ประเภทของวัสดุ โครงสร้างที่เหมาะสมแล้วยังต้องคำนึงถึงความประหยัดควบคู่กันไปด้วย

4 ความสะดวกสบายในการใช้

นักออกแบบต้องศึกษาวิชากายวิภาคเชิงกลเกี่ยวกับสัดส่วน ขนาด และขีดจำกัดที่เหมาะสมสำหรับอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจะประกอบด้วยความรู้ทางด้านขนาดสัดส่วนมนุษย์ (ANTHROPOMETRY) ด้านสรีรศาสตร์ (PHYSIOLOGY) จะทำให้ทราบ ขีดจำกัด ความสามารถของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ เพื่อใช้ประกอบการออกแบบ หรือศึกษาด้านจิตวิทยา (PSYCHOLOGY) ซึ่งความรู้ในด้านต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จะทำให้นักออกแบบ ออกแบบและกำหนดขนาด (DIMENSIONS) ส่วนโค้ง ส่วนเว้า ส่วนตรง ส่วนแคบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างพอเหมาะกับร่างกายหรืออวัยวะของมนุษย์ที่ใช้ ก็จะเกิดความสะดวกสบายในการใช้การไม่เมื่อยมือหรือเกิดการล้าในขณะที่ใช้ไปนานๆ ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิชาดังกล่าว ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้ต้องใช้อวัยวะร่างกายไปสัมผัสเป็นเวลานาน เช่น เก้าอี้ ด้าม เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ การออกแบบภายในห้องโดยสารรถยนต์ ที่มือจับรถจักรยาน ปุ่มสัมผัสต่างๆ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ยกตัวอย่างมานี้ถ้าผู้ใช้ผู้ใดได้เคยใช้มาแล้วเกิดความไม่สบายร่างกายขึ้น ก็แสดงว่าศึกษากายวิภาคเชิงกลไม่ดีพอแต่ทั้งนี้ก็ต้องศึกษาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้ดีก่อน จะไปเหมาว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ดี เพราะผลิตภัณฑ์บางชนิดผลิตมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งออกแบบโดยใช้มาตรฐานผู้ใช้ของชาวตะวันตก ที่มีรูปร่างใหญ่โตกว่าชาวเอเชีย เมื่อชาวเอเชียนำมาใช้อาจจะไม่พอดีหรือหลวม ไม่สะดวกในการใช้งาน นักออกแบบจึงจำเป็นต้องศึกษาสัดส่วนร่างกายของชนชาติหรือเผ่าพันธุ์ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นเกณฑ์

5 ความสวยงาม

ผลิตภัณฑ์ในยุคปัจจุบันนี้ความสวยงามนับว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหน้าที่ใช้สอยเลย ความสวยงามจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อเพราะประทับใจ ส่วนหน้าที่ใช้สอยจะดีหรือไม่ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งคือใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดข้อบกพร่องในหน้าที่ใช้สอยให้เห็นภายหลัง ผลิตภัณฑ์บางอย่างความสวยงามก็คือ หน้าที่ใช้สอยนั่นเอง เช่น ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของโชว์ตกแต่งต่างๆ ซึ่งผู้ซื้อเกิดความประทับใจในความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ความสวยงามจะเกิดมาจากสิ่งสองสิ่งด้วยกันคือ รูปร่าง (FORM) และสี (COLOR) การกำหนดรูปร่างและสี ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกับการกำหนด รูปร่าง สี ได้ตามความนึกคิดของจิตรกรที่ต้องการ แต่ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นในลักษณะศิลปะอุตสาหกรรมจะทำตามความชอบ ความรู้สึกนึกคิดของนักออกแบบแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้จำเป็นต้องยึดข้อมูลและกฎเกณฑ์ผสมผสานรูปร่างและสีสันให้เหมาะสม

ด้วยเหตุของความสำคัญของรูปร่างและสีที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ นักออกแบบจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาวิชาทฤษฏีหรือหลีกการออกแบบและวิชาทฤษฏีสี ซึ่งเป็นวิชาทางด้านของศิลปะแล้วนำมาประยุกต์ผสานใช้กับศิลปะทางด้านอุตสาหกรรมให้เกิดความกลมกลืน

6 ราคาพอสมควร

ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาขายนั้นย่อมต้องมีข้อมูลด้านผู้บริโภคและการตลาดที่ได้ค้นคว้าและสำรวจแล้วผลิตภัณฑ์ย่อมจะต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้ว่าเป็นคนกลุ่มใด อาชีพฐานะเป็นอย่างไร มีความต้องการใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นี้เพียงใด นักออกแบบก็จะเป็นผู้กำหนดแบบผลิตภัณฑ์ ประมาณราคาขายให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่จะซื้อได้การจะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเหมาะสมกับผู้ซื้อนั้นก็อยู่ที่การเลือกใช้ชนิดหรือเกรดของวัสดุและเลือกวิธีการผลิตที่ง่ายรวดเร็ว เหมาะสม

อย่างไรก็ดี ถ้าประมาณการออกมาแล้วปรากฏว่าราคาค่อนข้างจะสูงกว่าที่กำหนดไว้ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์ประกอบด้านต่างๆ กันใหม่ แต่ก็ยังต้องคงไว้ซึ่งคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นเรียกว่าเป็นวิธีการลดค่าใช้จ่าย

7 การซ่อมแซมง่าย

หลักการนี้คงจะใช้กับผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกล เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีกลไกภายในซับซ้อน อะไหล่บางชิ้นย่อมต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งานหรือการใช้งานในทางที่ผิด นักออกแบบย่อมที่จะต้องศึกษาถึงตำแหน่งในการจัดวางกลไกแต่ละชิ้นตลอดจนนอตสกรู เพื่อที่จะได้ออกแบบส่วนของฝาครอบบริเวณต่างๆ ให้สะดวกในการถอดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ง่าย

8 วัสดุและวิธีการผลิต

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ผลิตด้วยวัสดุสังเคราะห์อาจมีกรรมวิธีการเลือกใช้วัสดุและวิธีผลิตได้หลายแบบแต่แบบหรือวิธีใดถึงจะเหมาะสมที่สุด ที่จะไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่ประมาณ ฉะนั้น นักออกแบบคงจะต้องศึกษาเรื่องวัสดุและวิธีผลิตให้ลึกซึ้งโดยเฉพาะวัสดุจำพวกพลาสติกในแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติทางกายภาพที่ต่างกันออกไป เช่น มีความใส ทนความร้อน ผิวมันวาว ทนกรดด่างได้ดี ไม่ลื่น เป็นต้น ก็ต้องเลือกให้คุณสมบัติดังกล่าวให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่พึงมียิ่งในยุคสมัยนี้มีการรณรงค์ช่วยกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัสดุที่นำกลับหมุนเวียนมาใช้ใหม่ก็ยิ่งทำให้นักออกแบบย่อมต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกคือ เป็นผู้ช่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกใช้วัสดุที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ที่เรียกว่า “ รีไซเคิล ”

9 การขนส่ง

นักออกแบบต้องคำนึงถึงการประหยัดค่าขนส่ง การขนส่งสะดวกหรือไม่ ระยะใกล้หรือระยะไกลกินเนื้อที่ในการขนส่งมากน้อยเพียงใด การขนส่งทางบกทางน้ำหรือทางอากาศต้องทำการบรรจุหีบห่ออย่างไร ถึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่เกิดการเสียหายชำรุด ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้าหรือเนื้อที่ที่ใช้ในการขนส่งมีขนาด กว้าง ยาว สูง เท่าไหร่ เป็นต้น หรือในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำการออกแบบมีขนาดใหญ่โตยาวมาก เช่น เตียง หรือพัดลมแบบตั้งพื้น นักออกแบบก็ควรที่จะคำนึงถึงเรื่องการขนส่ง ตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบกันเลย คือ ออกแบบให้มีชิ้นส่วนสามารถถอดประกอบได้ง่าย สะดวก เพื่อทำให้หีบห่อมีขนาดเล็กสุดสามารถบรรจุได้ในลังที่เป็นขนาดมาตรฐานเพื่อการประหยัดค่าขนส่ง เมื่อผู้ซื้อซื้อไปก็สามารถที่จะขนส่งได้ด้วยตนเองนำกลับไปบ้านก็สามารถประกอบชิ้นส่วนให้เข้ารูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้โดยสะดวกด้วยตนเอง

เรื่องหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวมาทั้ง 9 ข้อนี้เป็นหลักการที่นักออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงเป็นหลักการทางสากลที่ได้กล่าวไว้ในขอบเขตอย่างกว้าง ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ไว้ทั่วทุกกลุ่มทุกประเภทในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั้น อาจจะไม่ต้องคำนึงหลักการดังกล่าวครบทุกข้อก็ได้ ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์บางชนิดก็อาจจะต้องคำนึงถึงหลักการดังกล่าวครบถ้วนทุกข้อ เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้แขวนเสื้อ ก็คงจะเน้นหลักการด้านประโยชน์ใช้สอย ความสะดวกในการใช้และความสวยงามเป็นหลัก คงจะไม่ต้องไปคำนึงถึงด้านการซ่อมแซม เพราะไม่มีกลไกซับซ้อนอะไร หรือการขนส่ง เพราะขนาดจำกัดตามประโยชน์ใช้สอยบังคับ เป็นต้น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์รถยนต์ ก็จำเป็นที่นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ครบทั้ง 9 ข้อ เป็นต้น





น้ำตะไคร้

ส่วนผสม 
 
ตะไคร้ทั้งต้นและใบ 1 กิโลกรัม
(ต้น 600 กรัม ใบ 400 กรัม)
 
 น้ำเปล่า 4 ลิตร 
 น้ำตาลทราย 400-700 กรัม 
 กรดมะนาว 0.5-1 กรัม  
   
   


วิธีทำ
-
ล้างตะไคร้ให้สะอาด ตัดเป็นท่อนสั้นๆ นำไปต้มกับน้ำเปล่า 4 ลิตร ประมาณ 5-10 นาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง 2-3 ชั้น เพื่อกันไม่ให้มีเศษตะกอนของใบตะไคร้
-
ผสมน้ำตาลทราย คนจนน้ำตาลละลายหมด ถ้าชอบรสชาติเปรี้ยวเล็กน้อย ให้เติมกรดมะนาว เพื่อความชุ่มคอชื่นใจ แล้วกรองอีกครั้ง ตั้งให้เดือด 1-2 นาที ยกลงกรอกใส่ขวดแก้วที่ล้างสะอาด คว่ำให้แห้ง ขณะร้อนอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ถ้ากรอกลงขวดพลาสติก ต้องลดให้อุณหภูมิ 68 องศาเซลเซียส กรอกให้เต็มขวด ปิดฝาให้สนิท แล้วแช่น้ำเย็นทันที เมื่อขวดเย็น ให้รีบนำเข้าตู้เย็น สามารถเก็บไว้ได้ถึง 14 วัน


หมายเหตุ :ตะไคร้ ถ้าไม่ใช้สด อาจทำโดยนำตะไคร้ทั้งต้น และใบล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนสั้นๆ นำเข้าตู้อบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นานประมาณ 2 ชั่วโมง ผึ่งไว้ให้เย็น บรรจุใส่ถุงปิดมิดชิด เวลาจะใช้นำมาต้มกับน้ำ แล้วกรองเอาแต่น้ำ ถ้าไม่อบ อาจนำมาคั่วกับกระทะ จนมีกลิ่นหอม นำไปต้มกับน้ำ แล้วกรองเอาแต่น้ำนำไปปรุงรส

คุณค่าทางอาหาร :  มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้กับอาหาร

คุณค่าทางยา :  แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อได้ดี ช่วยลดพิษของสารแปลกปลอมในร่างกาย รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิตสูง

 
  แหล่งข้อมูล :
www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 74 สิงหาคม 2549
และ www.spo.moph.go.th/dherb/sara/numsamunpri/num.htm
 
  
เมนูสุขภาพที่น่าสนใจ
 
6 น้ำสมุนไพร
 
น้ำมะเขือเทศ
 
น้ำแครอท
 
พั้นช์ขิง
 
น้ำว่านหางจระเข้เย็น
 
    
 

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่...เพื่อใคร เด็กหรือผู้ใหญ่ พิมพ์ อีเมล
วัคซีนไข้หวัดใหญ่...
เพื่อใคร เด็กหรือผู้ใหญ่
   โรคไข้หวัดใหญ่อาจก่อโรครุนแรงได้ในผู้ที่มีความเสี่ยงโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างสม่ำเสมอ แต่ยังเป็นข้อโต้แย้งกันว่าสำหรับเด็ก วัคซีนมีความจำเป็นเพียงใด ปัจจุบันแนะนำให้ใช้เฉพาะในเด็กที่มีโรคประจำตัว (เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคหอบหืด โรคเอดส์ เป็นต้น) 
      ส่วนการใช้วัคซีนสำหรับเด็กเล็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี อาจช่วยลดการเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบและโรคปอดอักเสบได้ ควรศึกษาความคุ้มค่าในการนำมาใช้ในเด็กกลุ่มนี้

โรคไข้หวัดใหญ่

            โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งจำแนกได้สามชนิดคือ ชนิดเอ บี และซี ชนิดเอทำให้เกิดโรคได้ในคนและสัตว์ ซึ่งทำให้การระบาดเกิดขึ้นได้บ่อย และมักเป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก สำหรับชนิดบีและซีก่อโรคเฉพาะในคนเท่านั้น การระบาดจึงอยู่ในวงจำกัดกว่า            ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มักมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลียมาก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร และอาการหวัด บางคนอาจมีอาการรุนแรงต้องลางาน ขาดเรียน หรือต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ผู้ป่วยอาจจะมีอาการหลังได้รับเชื้อ 1-4 วัน โดยทั่วไปจะหายได้ในเวลา 5-7 วันหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยผู้ใหญ่และเด็กเล็กอาจมีภาวะแทรกซ้อนของปอด สมอง และหัวใจได้
            การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่พบได้เป็นประจำทุกปี เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ได้ตลอดเวลา เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของการระบาดในแต่ละครั้งจึงเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ช่วงเวลาของระบาดในแต่ละพื้นที่ยังมีไม่ตรงกันด้วยคือ ในแถบซีกโลกเหนือจะมีการระบาดในช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม-กันยายน) สำหรับประเทศไทยมักมีการระบาดเป็นสองช่วงคือ ช่วงฤดูฝน  (มิถุนายน-ตุลาคม) และช่วงฤดูหนาว (มกราคม-มีนาคม)            ความน่ากลัวของไข้หวัดใหญ่คือ เคยเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกในปี พ.ศ. 2461 ซึ่งทำให้ผู้เสียชีวิตมากกว่า 50 ล้านคน หลังจากนั้นมีการระบาดใหญ่เป็นระยะๆ ในปี พ.ศ.2500, 2511 และ 2520 เชื่อว่าอาจมีสาเหตุมาจากการกลับมาใหม่ของเชื้อในอดีตที่หลบซ่อนตัวอยู่ในสิ่งแวดล้อม หรือจาการข้ามสายพันธุ์ของเชื้อในสัตว์มายังคน (เช่น ไข้หวัดนกที่ทำให้เกิดโรคในคน) หรือจากการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมของเชื้อระหว่างคนกับสัตว์ ซึ่งสร้างความวิตกกังวลว่าอาจเกิดการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรง และทำให้เกิดการระบาดเป็นวงกว้างไปทั่วโลกได้ในช่วงเวลาอันใกล้นี้
วัคซีนไข้หวัดใหญ่
            ปัจจุบันวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่มีใช้กันมีสองชนิดคือ ชนิดฉีด และชนิดพ่นจมูก วัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนเชื้อตายจำนวน 3 สายพันธุ์คือ ชนิดเอ 2 สายพันธุ์ และชนิดบี 1 สายพันธุ์ ในแต่ละปีวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะถูกผลิตขึ้นใหม่ โดยองค์การอนามัยโลกจะเป็นผู้พิจารณาคาดเดา และกำหนดว่าสายพันธุ์ใดน่าจะมีการระบาดในปีนั้น ๆ และแยกผลิตเป็นสองสูตร เพื่อประเทศในซีกโลกเหนือกับซีกโลกใต้ สำหรับเชื้อไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกับเชื้อจากประเทศในซีกโลกใต้มากกว่า จึงแนะนำให้ใช้วัคซีนสูตรสำหรับประเทศในซีกโลกใต้             วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไปโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปีถ้าไม่เคยฉีดมาก่อน ในปีแรกให้ฉีด 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน หลังจากนั้นให้ฉีดเข็มเดียวในแต่ละปี สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ฉีดปีละครั้ง โดยทั่วไปวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ร้อยละ 60-90 หรือหากเป็นโรค อาการของโรคมักไม่รุนแรง             แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนที่ใช้ในกรณีพิเศษสำหรับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่ได้แก่ ผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 60-65 ปี) เด็กที่ต้องกินยาแอสไพรินเป็นเวลานาน ผู้ที่มีโรคประจำตัว (เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคเลือด ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง) หญิงตั้งครรภ์ในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ที่อาศัยในศูนย์เลี้ยงดูคนชรา หรือผู้ที่ทำงานเลี้ยงดูเด็กเล็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก ระยะหลังหลายประเทศได้แนะนำให้ใช้วัคซีนสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปีด้วย             หลังจากฉีดวัคซีนอาจมีอาการปวดบวมแดงร้อนเฉพาะที่ อาจมีไข้หรือปวดเมื่อยตามตัวได้นาน 1-2 วัน อาการข้างเคียงที่รุนแรงได้แก่ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งพบน้อยมากและในประเทศไทยยังไม่รายงานของอาการข้างเคียงนี้
            วัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดนกได้ แต่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้วัคซีนสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคจากการดูแลผู้ป่วยไข้หวัดนก และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับทำลายสัตว์ปีกที่สงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดนก โดยหวังป้องกันโอกาสที่โรคทั้งสองจะเกิดพร้อมกันในกลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้เชื้อไวรัสทั้งสองชนิดมาผสมกันและเกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม กลายเป็นไวรัส

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์ องค์การอนามัยโลก
สำนักงานใหญ่องค์การอนามัยโลก ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
องค์การอนามัยโลก (อังกฤษ: World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นหน่วยงานระหว่างประเทศ ในสังกัดสหประชาชาติ ทำหน้าที่ดูแลประสานงานงานด้านสาธารณสุข. ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[1]


 งานขององค์การอนามัยโลก แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

  1. อำนวยความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ ตามความต้องการเมื่อได้ร้องขอมา
  2. จัดให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประเทศต่างๆทั่วโลก
  3. ส่งเสริมและประสานงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระหว่างชาติเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่างๆ อันไม่อาจดำเนินไปได้โดยลำพังของแต่ละประเทศ
  4. ทำหน้าที่แก้ปัญหาโรคที่ยังไม่สามารถรักษาได้ เช่น ซาร์ส ไข้หวัดนก