วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงงานอาชีพ

ตัวอย่างโครงงาน
เรื่อง  น้ำมะกรูด  สูตรข้างครัว


โครงงาน              เรื่อง  น้ำมะกรูด  สูตรข้างครัว


จัดทำโดย

เด็กหญิงณัฏฐพร  ทองเชื้อ
เด็กหญิงสรนันท์  นุ่มจุ้ย
เด็กหญิงสุภาพร  บัวเทศ
เด็กหญิงดวงกมล  สมบูรณ์โชคดี
เด็กหญิงฐนันทิพย์  เตชะศิลปภักดี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/13

ครูที่ปรึกษา
อาจารย์วริษฐา  ลิโมภาสิทธิ์
โรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม  เขต 1
บทคัดย่อ

          มะกรูด  เป็นสมุนไพรที่อยู่ในบ้านของทุกคน  และหาได้ง่ายในบ้านของเรา                     ซึ่งมะกรูดสามารถรับประทานได้ทั้งใบและผล  เราจึงอยากนำมะกรูดมาทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร
            จากการศึกษาและค้นคว้าด้วยการทำโครงงานทดลองพบว่า  มีข้อมูลที่น่าสนใจ  คือ  สารที่สำคัญที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของอวัยวะสำคัญในการขจัดสารพิษมากมาย  ซึ่งสารที่ว่านี้ได้มาจากมะกรูด
            โครงงาน  น้ำมะกรูดสูตรข้างครัว  มีจุดมุ่งหมายในการทำงาน  โดยนำมะกรูดมาแปรรูปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร  ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ  และยังเป็นการนำ    สิ่งที่หาได้ง่ายภายในบ้านมาใช้ให้เป็นประโยชน์  นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความสามัคคี  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  แก่คนในกลุ่มอีกด้วย
           















กิตติกรรมประกาศ

          คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณป้าสุนีย์  สมบูรณ์โชคดี ที่ให้ความรู้และถ่ายทอดวิธีการทำน้ำมะกรูดสมุนไพร  ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างละเอียด                  ด้วยความเมตตาและตั้งใจจริง  ขอบพระคุณ  ครูวริษฐา  ลิโมภาสิทธิ์  ที่กรุณาให้คำแนะนำในการจัดทำโครงงาน  อำนวยความสะดวกจัดหาอุปกรณ์  อุทิศเวลา  และเป็น            ที่ปรึกษาโครงงาน  โดยเฉพาะการนำเสนอที่ถูกต้อง
            สุดท้ายนี้ขอขอบใจเพื่อนนักเรียน ชั้น ม.1/13 ทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ  ให้ข้อแนะนำเสนอแนะ  ทำให้ผลงานออกมาได้เป็นอย่างดี

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงงานอาชีพ

โครงงานอาชีพม.6_ ครูชัฏ ตระกูลสินทอง_โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี

Information

โครงงานอาชีพม.6_ ครูชัฏ ตระกูลสินทอง_โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี

เป็นพื้นที่เรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี รหัส ง 43103 หน่วยการเรียนรู้โครงงานอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 20 ชั่วโมง สอนโดยครูชัฏ ตระกูลสินทอง โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี

เว็บไซต์: http://www.kruchat.com
ที่ตั้ง: โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี
สมาชิก: 223
กิจกรรมล่าสุด: 16 hours ago

เงื่อนไขการใช้เว็บไซต์ ครูสอนดี

  1. เว็บครูสอนดีเป็นเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ของครูและนักเรียน เท่านั้น
  2. ไม่ใช้เพื่อส่วนตัว  ความบันเทิง การเมือง
  3. ครูชื่อผู้ใช้ เป็นภาษาไทย  ต้องมีคำนำหน้าว่าครู  ชื่อและนามสกุล
  4. นักเรียนชื่อผู้ใช้ เป็นภาษาไทย ไม่มีคำนำหน้า
  5. ข้อมูลส่วนตัวช่อง City ให้ใส่ชื่อโรงเรียน จังหวัด
  6. รูปต้องเป็นรูปที่สุภาพเท่านั้น  ไม่โพสรูปส่วนตัว รูปที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ เช่น
  7. ข้อความต้องสุภาพ และใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องเท่านั้น
  8. หากพบการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องของสมาชิกเครือข่าย จะปิดเครือข่ายนั้น ๆ
  9. การตั้งชื่อเครือข่าย ชื่อหน่วยการเรียนรู้_ครูผู้สอน_โรงเรียน จังหวัด
  10. เครือข่ายที่ถูกต้องจะได้รับการ อนุมัติ ภายใน 12 ชั่วโมง
  11. ที่ตั้งของหน่วยการเรียนรู้ เป็นชื่อ โรงเรียน จังหวัด (คำเต็ม)
เว็บครูสอนดีเป็นเครือข่ายสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

โครงสร้างโครงงาน
1. ชื่อโครงงาน
2. หน่วยงาน / ผู้รับผิดชอบ
3. ระยะเวลาดำเนินโครงงาน
4. หลักการและเหตุผล
5. วัตถุประสงค์
6. เป้าหมาย
7. สถานที่ดำเนินงาน
8. วิธีดำเนินงาน
9. งบประมาณ
10. การติดตามประเมินผล
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงาน

ชื่อโครงงานเป็นสิ่งสำคัญประการแรก เพราะชื่อจะช่วยโยงความคิดไปถึงวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานและควรกำหนดชื่อโครงงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักด้วย การตั้งชื่อนิยมตั้งให้มีความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจ แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ผู้ทำโครงงานอาชีพ ต้องเข้าใจปัญหาที่สนใจศึกษาอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างแท้จริงด้วย เช่น โครงงานประดิษฐ์ดอกไม้จากเศษผ้า โครงงานประดิษฐ์ไม้แกะสลัก โครงงานทำเรือจำลอง โครงงานรดน้ำพืชด้วยอาศัยความชื้นในดิน โครงงานการเลี้ยงไก่พื้นเมือง โครงงานศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น สำหรับชื่อโครงงานส่วนใหญ่มาจากงานที่ต้องการปฏิบัติ ซึ่งจะต้องระบุให้ชัดเจน เหมาะสม และเฉพาะเจาะจง สื่อความหมายเข้าใจง่าย

การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานอาชีพ เป็นจำเป็นเพื่อจะได้ทราบว่าโครงงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของใคร หรือโครงงานนี้อยู่ในความรับผิดชอบของใคร เมื่อมีปัญหาจะได้ติดต่อประสานงานได้ง่าย

หลักการและเหตุผล แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นหรือความสำคัญ หรือภูมิหลังในการจัดทำโครงงาน ซึ่งจะต้องระบุถึงเหตุผลและข้อมูล หรือทฤษฎีต่าง ๆ มาสนับสนุนโครงงานให้ปรากฎโดยชัดเจนอย่างสมเหตุสมผล เพื่อให้การสนับสนุนและอนุมัติโครงงาน
การเขียนหลักการและเหตุผลในส่วนนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
1. ความเป็นมาของโครงงานย่อ ๆ
2. เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีโครงานนั้น ๆ
3. วิธีการดำเนินโครงงานย่อ ๆ
ทั้งนี้ การเขียนในส่วนต่าง ๆ ดังกล่าว ควรกระชับ ตรงประเด็น มีหลักฐาน ข้อมูลเหตุผลในรูปของข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ และมีความเป็นไปได้

ตัวอย่างการเขียนหลักการและเหตุผล โครงงานการผลิตดินผสมปลูกพืช
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบัน ดินผสมปลูกพืชกำลังเป็นที่ต้องการของประชาชนที่นิยมชมชอบกับงานอดิเรกปลูกต้นไม้ และแม้แต่ที่ปลูกต้นไม้เป็นอาชีพ โดยเฉพาะงานปลูกไม้ดอกไม้ประดับในภาชนะ หรือพืชผักต่าง ๆ ทั้งในเมืองหลวงและในท้องถิ่น ต่างก็หาซื้อดินผสมปลูกพืชที่บรรจุในถุงพลาสติกวางจำหน่ายอยู่ทั่วไป จึงเกิดธุรกิจการซื้อขายดินผสมปลูกพืชขึ้นอย่างกว้างขวางตามท้องถิ่นต่าง ๆ ดังจะเห็นได้จากในตลาดจำหน่ายวัสดุการเกษตรจะมีผู้ผลิตสินค้า ดินผสมจำหน่ายในนามของดินผสมนายเด่น เป็นต้น การผลิตดินผสมปลูกพืชเป็นงานที่ทำได้ไม่ยากและไม่ค่อยสลับซับซ้อนมากนัก เพียงแต่ผู้ผลิตทราบสูตรและจัดหาวัสดุในท้องถิ่นมาผสมเข้าด้วยกัน ก็จะได้ดินผสมไปปลูกพืชเป็นอย่างดี ดังนั้น เมื่อได้จัดโครงงานผลิตดินผสมปลูกพืชขึ้นแล้ว ก็จะทำให้มีความรู้และประสบการณ์ในการศึกษาวิชาเกษตรกรรม ซึ่งสามารถช่วยเหลือครอบครัว ไม่ต้องไปหาซื้อดินผสมปลูกพืช ซึ่งสามารถทำได้ดี เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยให้มีการทดลองศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการปลูกพืชโดยใช้ดินผสมสูตรต่าง ๆ ในการศึกษาวิชาเกษตรกรรมระดับสูงต่อไปด้

วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงาน ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์หลายประเด็น ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน คือ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ ไม่เปิดโอกาสให้ตีความได้หลายอย่างอันจะทำให้ความหมายบิดเบือนไปจากเจตนารมย์ที่แท้จริง และสามารถประเมินผลและวัดได้

การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดีจะช่วยให้การกำหนดขั้นตอนสำหรับปฏิบัติเป็นไปอย่างรัดกุมและมีทิศทางไปในแนวเดียวกัน ตลอดจนส่งผลให้การปฏิบัติงานสามารถบรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ช่วยให้การวางแผนมีความถูกต้อง ชัดเจน และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น

1. ศึกษาสูตรดินผสมปลูกพืช จำนวน 3 สูตร
2. ทำการผลิตดินผสมปลูกพืช จำนวน 1 สูตร
3. ปลูกพืชเปรียบเทียบดินที่ผสมได้กับดินธรรมดาทั่วไป

เป้าหมาย (Targets) หมายถึงการแสดงผลผลิตขั้นสุดท้ายในแง่ปริมาณ จำนวนหรือการวัดความสำเร็จในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ เป้าหมายจึงคล้ายกับวัตถุประสงค์แต่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากกว่า มีการระบุสิ่งที่ต้องการกระทำหรือการไปถึงชัดเจนกว่าและระบุเวลาที่ต้องการบรรลุ ว่าจะแล้วเสร็จในวันที่เท่าไร เดือนอะไร ปีใด โดยใคร และอย่างไร นอกจากนั้นอาจมีการกำหนดเป้าหมายเชิงคุณภาพควบคู่ไปด้วยก็ได้

ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการตามโครงงาน จะเป็นการระบุระยะเวลาและสถานที่หรือพื้นที่เป้าหมายที่จะจัดกิจกรรม ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงงานและในกรณีที่เป็นโครงงานระยะยาวมีหลายขั้นตอน ก็จะต้องแสดงช่วงเวลาในแต่ละขั้นตอนนั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเพื่ออนุมัติโครงงาน ตัวอย่างเช่น
ระยะเวลา : 1 เดือน วันที่ 1 - 31 พฤษจิกายน 2553
สถานที่ดำเนินงาน : ศูนย์เกษตรกรรม โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี

งบประมาณ และทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินงานโครงงาน จะเป็นการระบุถึงจำนวนเงิน จำนวนบุคคล จำนวนวัสดุ-ครุภัณฑ์ และปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน รวมถึงแหล่งที่มาของเงินทุนและทรัพยากรดังกล่าว โดยกำหนดหรือจัดทำเป็นงบประมาณการลงทุนนั่นเอง
การจัดทำงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินงาน ผู้วางแผนควรต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ 4 ประการในการจัดทำโครงงาน โดยจะต้องจัดเตรียมไว้อย่างเพียงพอและจะต้องใช้อย่างประหยัด ดังนี้
ความประหยัด (Economy) คือใช้งบประมาณเป็นไปอย่างประหยัดตามสมควรแต่ผลการดำเนินานไปด้วยดีและมีคุณภาพ
ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ โครงงานวิชาชีพที่เลือกสรรแล้ว จะต้องมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับและทุกคนมีความพึงใจในผลงานที่เกิดขึ้น
ความมีประสิทธิผล (Effectiveness) โครงงานวิชาชีพที่เลือกสรรแล้ว จะต้องดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
ความยุติธรรม (Equity) คือ การจัดสรรทรัพยากร หรือการใช้จ่ายงบประมาณจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง คล่องตัว และมีประสิทธิภาพสูงสุด

ผลที่คาดว่าจะได้รับ แสดงถึงผลประโยชน์ที่ผู้ดำเนินงานและผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้รับหลังโครงงานสิ้นสุดลง ซึ่งหมายถึงผลกระทบในทางที่ดี ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้จะระบุไว้ชัดเจนว่าใครจะได้รับผลประโยชน์และผลกระทบในลักษณะอย่างไร ทั้งด้านปริมาณ และด้านคุณภาพ

การติดตามและประเมินผล เป็นการระบุว่ามีการติดตาม การควบคุม การกำกับ และการประเมินผลโครงงานอย่างไร จะประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานโครงงานได้อย่างไรใครเป็นผู้รับผิดชอบ โดยระบุวิธีหรือเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินด้วย ทั้งนี้หัวข้อของการประเมินจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามโครงงานด้วย

ดังนั้น เพื่อให้การติดตามและประเมินผลโครงงานสอดคล้องกันระหว่างการวางแผนกับการปฏิบัติงาน จะประเมินเป็น 3 ระยะ คือ
1. ประเมินผลก่อนการทำโครงงาน หรือก่อนการปฏิบัติงาน 20 คะแนน
2. ประเมินผลระหว่างที่มีการทำโครงงาน 60 คะแนน
3. ประเมินผลภายหลังการทำโครงงาน 20 คะแนน

แสดงการคาดคิดว่า การดำเนินงานตามโครงงานนี้ จะมีปัญหาและอุปสรรคใดบ้าง ทั้งในด้านตัวบุคคลที่ร่วมงาน ขั้นตอนการปฏิบัติ ภัยธรรมชาติ ตลาดจำหน่ายและอื่น ๆ ที่เห็นว่าน่าจะเกิดขึ้น พร้อมชี้แจงสาเหตุที่อาจเกิดขึ้นด้วย รวมทั้งแนวทางแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคที่ไม่เป็นไปตามแผนขั้นตอนการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน ระยะเวลา วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดด้วย
ตัวอย่าง การเขียนปัญหาอุปสรรค์
1. ผลการตอบแทนการดำเนินงานโครงงาน ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เนื่องจากไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้
2. การคาดคะเนยอดขายผิดพลาด เนื่องจากสภาวะแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีคู่แข่งขันรายใหม่ หรือพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง
3. หน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายทำได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากสมาชิกบางคนมีภาระด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น
4. ขาดความร่วมมือหรือขาดการสนับสนุนในการดำเนินงานโครงงานของผู้เรียนและมีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงงานงานอาชีพ

1.โครงงานการงานอาชีพ 
เรื่อง 
เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส


คณะผู้จัดทำโครงงาน
๑.เด็กชายมนต์รัก           หาบุญมา        ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๑๒
๒.เด็กชายเอกลักษณ์      ทองราช          ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๑๕
๓.เด็กหญิงมินตรา          พระลิต           ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๒๗
๔.เด็กหญิงอังคณา          นุสนทรา        ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๒๒
๕.เด็กชายสุจินดา            นาเจริญ          ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๗
๖.เด็กชายจิรกฤต             ปะสาวะนัง     ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๑๓
๗.เด็กหญิงสุริฉาย           ประวันเณย์     ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๒๔
๘.เด็กชายจิรายุทธ           จำเริญขวัญ     ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๑๔
๙.เด็กชายอาทิตย์              สังสีราช         ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๔
๑๐.เด็กชายณัฐกานณ์       สิงห์สถิต        ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๑

คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน
นาย จำรัส        เจริญนนท์
โรงเรียนบ้านโสกแดง  อำเภอแกดำ  จังหวัดมหาสารคาม

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานการงานอาชีพ  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ประเภทโครงงานสำรวจการเรียนรู้การงานอาชีพ  รหัสวิชา ง ๓๒๑๐๑



หัวข้อโครงงาน            เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส
ผู้จัดทำ                       
๑.เด็กชายมนต์รัก           หาบุญมา      
๒.เด็กชายเอกลักษณ์      ทองราช        
๓.เด็กหญิงมินตรา          พระลิต         
๔.เด็กหญิงอังคณา          นุสนทรา      
๕.เด็กชายสุจินดา            นาเจริญ       
๖.เด็กชายจิรกฤต             ปะสาวะนัง  
๗.เด็กหญิงสุริฉาย           ประวันเณย์      
๘.เด็กชายจิรายุทธ           จำเริญขวัญ 
๙.เด็กชายอาทิตย์              สังสีราช       
๑๐.เด็กชายณัฐกานณ์       สิงห์สถิต
ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน  นาย จำรัส    เจริญนนท์
โรงเรียน                     บ้านโสกแดง  อำเภอแกดำ  จังหวัดมหาสารคาม
ปีการศึกษา                 ๒๕๕๒

บทคัดย่อ
            โครงงานการงานอาชีพเรื่อง เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับแนวพระราดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยคณะผู้จัดทำได้ออกศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต  และศึกษาสัมภาษณ์จากชาวบ้าน  จากชาวบ้านชุมชนใกล้เคียงที่ปลูกพืชผักสวนครัว  คณะผู้จัดทำได้ความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆแล้ว  ก็มีแนวความคิดจัดทำขึ้นเป็นโครงงาน  เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  มีความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆ  และเมื่อได้ความรู้แล้วก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้  เมื่อนำไปประยุกต์ใช้ก็ทำให้เกิด ความพอเพียง พอมี พอกิน
ผลการศึกษาโครงงาน  โครงงานพบว่ามีเกษตรต่าง ๆหลายประเภททั้งจากอินเทอร์เน็ตและจากการสัมภาษณ์ชุมชนใกล้เคียง  เช่น  ผักกาด ผักหอม  เป็นต้น  เราสามารถนำมาปลูกและประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจพอเพียงได้
โดยสรุป  โครงงานเรื่องเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส  เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำมาใช้เพื่ออาหาร  และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่  ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ชาวบ้านชุมชนใกล้เคียง   เพื่อประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
      

กิตติกรรมประกาศ
            การศึกษาโครงงานเรื่องนี้สำเร็จ  ได้ด้วยความช่วยเหลือให้คำปรึกษาจาก  คุณครู  จำรัส      เจริญนนท์  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทางและการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องของโครงงานจนสำเร็จด้วยดี  คณะผู้ศึกษาจึงขอกราบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง
            ขอขอบพระคุณผู้ผู้อำนวยการโรงเรียน  คณะครูโรงเรียนบ้านโสกแดง  ที่อนุเคราะห์และอำนวยความสะดวกแหล่งค้นคว้าข้อมูล
            ขอขอบพระคุณเพื่อนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  ที่ให้กำลังใจด้วยดีเสมอมา
            ขอขอบพระคุณคุณพ่อ  คุณแม่และญาติทุกคนของคณะผู้ศึกษา  ที่คอยเป็นกำลังใจอันสำคัญยิ่งให้แก่คณะผู้ศึกษาค้นคว้าจนประสบผลสำเร็จ
            คุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้  คณะผู้ศึกษาค้นคว้าขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา  มารดาบูรพาจารย์  และผู้มีพระคุณทุกท่าน
                                                                                                                                   
                                                                                                            คณะผู้จัดทำ

  
บทที่  ๑
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
            เนื่องด้วยคณะผู้ศึกษาไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  มีแนวความคิดจัดทำโครงงานการงานอาชีพ  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  อยากมีความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆ  เพื่อประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพื่อที่จะได้ออก  สัมภาษณ์  ลงมือปฏิบัติจริง  และได้ศึกษาค้นค้าหาความรู้เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส ด้วยตนเอง  และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้ความรู้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองไผ่  บ้านไผ่ล้อม  บ้านโสกแดง  บ้านโนนสะพัง  และมีควาเชี่ยวชาญเรื่องเกษตรต่าง  ๆ  มาก ๆ  และมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติจริงและสามารถสอบเรื่องเกษตร  ได้ผลสัมฤทธิ์ ในระดับดี ในภาคเรียนต่อ  ๆมา

            วิชาการงานอาชีพทุกคนต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  การศึกษาโครงงาน  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  พระราชดำรัส  จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าต้องการรู้จักเรื่องเกษตรต่าง  ๆ ของพืชผักต่าง ๆ
เช่น ผักกาด  ผักหอม  เป็นต้น  ได้ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มาก

            จากข้อความดังกล่าว  คณะผู้ศึกษาจึงทำโครงงาน  เรื่องเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส ขึ้น

วัตถุประสงค์
๑.     เพื่อศึกษา สัมภาษณ์  เกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส  จากชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  และจาอินเทอร์เน็ต
๒.   เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ มีความรู้เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส
๓.    เพื่อที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริง
สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า
            คณะผู้จัดทำไม่รู้เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัสมากพอ และไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติจริง

ความมุ่งหมายของการศึกษา
            เพื่อรวบรวมข้อมูล  เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  จัดทำขึ้นเป็นโครงงานการงานอาชีพ

ความสำคัญของการศึกษา
            ทำให้ทราบเรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตาแนวพระราชดำรัส  รู้เรื่องเกษตรต่าง  ๆ มากมาย

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
            การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ต  และสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองไผ่  บ้านไผ่ล้อม

นิยามศัพท์เฉพาะ
            เกษตร  หมายถึง  ที่ดิน , ทุ่ง , นา , ไร่  เช่น  พุทธเกษตร
            พอเพียง  หมายถึง  ได้เท่าที่กะไว้  เช่น  ได้เท่านี้ก็พอแล้ว
            พระราชดำรัส  หมายถึง  คำสั่งสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
            ศึกษา  หมายถึง  การเล่าเรียน ,  ฝึกฝน , และอบรม
            ค้นคว้า  หมายถึง  ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา ,  เสาะหาเอามา
           
บทที่  ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่สารที่เกี่ยวข้อง
            การศึกษาครั้งนี้  คณะผู้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวของเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาโครงงาน  ดังหัวข้อต่อไปนี้

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

อินเทอร์เน็ต  http://www.goole/. COM   ได้แก่  ได้รู้จักวิธีปลูกพืชผักสวนครัวต่าง  ๆ  คือ  ผักกาด  ผักหอม  ผักซี  ผักคะน้า  ผักกวางตุ้ง  พริก  กะหล่ำปลี  ผักกาดขาว  ผักบุ้ง

หนังสือกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชัน ม. ๒   ได้แก่  ความรู้เพิ่มเติม  เรื่อง เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตัวอย่างแบบ โครงงานภาษาไทย  ได้แก่  บทคัดย่อ  กิตติกรรมประกาศ  ที่มาและความสำคัญ  วิธีดำเนินงาน

หนังสือเสริมความรู้  เรื่อง  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ได้แก่  ความรู้  เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่ามีความเป็นมาแบบใด  มีแนวปฏิบัติแบบใด  ประยุกต์ได้แบบใด

บทที่  ๓
วิธีดำเนินงาน

วิธีดำเนินงาน


ลำดับขั้นตอนการศึกษาระยะเวลาดำเนินการ
๑.กำหนดปัญหา๑๐  พ.ย  ๕๒
๒.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส๑๑  พ.ย  ๕๒
๓.รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการ  สัมภาษณ์  ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองไผ่  บ้านไผ่ล้อม  เป็นต้น๑๓  พ.ย  ๕๒
๔.ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต๑๕  พ.ย  ๕๒
๕.รวบรวมข้อมูลที่ได้๑๖  พ.ย   ๕๒
๖.จัดทำรูปเล่มรายงานขึ้น  เพื่อออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้น ม. ๒  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง๑๗  พ.ย  ๕๒
๗.ออกเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโครง๑๙  พ.ย  ๕๒
๘.นำความรู้ที่ได้มา  จัดทำขึ้นผังโครงงาน๒๒  พ.ย  ๕๒
๙.ฝึกซ้อมการนำเสนอโครงงาน  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส๒๓  พ.ย  ๕๒
๑๐.นำเสนอโครงงาน๓๐  พ.ย  ๕๒


บทที่  ๔
ผลการศึกษาค้นคว้า

ผลการศึกษาค้นคว้า
            ผลการศึกษาค้นคว้า  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  จากการ  สัมภาษณ์ ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  และจากอินเทอร์เน็ต  ปรากฏการศึกษา  ดังต่อไปนี้

บทที่  ๕
สรุปผล  อภิปรายผล  ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอแนะ

            การศึกษาโครงงาน  เรื่อง เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  สรุปผลได้
ดังนี้

สรุปผล
            จากการศึกษาและสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  ได้ศึกษาพืชผักต่าง  ๆ  จำนวน  ๙  ชนิด  คือ ผักกาด  ผักหอม  ผักซี  ผักคะน้า  พริก  กะหล่ำปลี  ผักกวางตุ้งผักบุ้ง  ผักกาดขาว  ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการปลูกพืชผักต่าง  ๆ  และอื่น  ๆ  ผู้ศึกษาจึงได้นำผลการเรียนรู้ออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  อ.แกดำ  จ.มหาสารคาม  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  ได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและสามารถปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ ทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  ได้ผลสัมฤทธิ์ในระดับดี

อภิปรายผล 
            จากการศึกษา  เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  ทำให้รู้ถึง  ลักษณะการปลูกพืชผักต่าง  ๆ  มีดังนี้
๑. ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกาด
๒.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักหอม
๓.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักซี
๔.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักคะน้า
๕.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก พริก
๖.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก  กะหล่ำปลี
๗.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกวางตุ้ง
๘.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกาดขาว
๙.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก  ผักบุ้ง

ประโยชน์ที่ได้รับ
๑.     รู้และเข้าใจ  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส
๒.   ได้ออกเผยแพร่ให้ความรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง
๓.    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  สามารถนำความรู้ที่ได้จากการจัดทำโครงงานนำไปปฏิบัติจริงที่บ้าน  และที่โรงเรียน
๔.    ได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
๕.    ได้ปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ข้อเสนอแนะ
๑.     ในโอกาสต่อไปอยากออกเผยแพร่ทั่ว  ตำบลโนนภิบาล
๒.   อยากทำแผ่นพับออกเผยแพร่ให้ได้มากที่สุด
๓.    อยากนำความรู้ที่ได้มาทำเป็นกิจการขนาดใหญ่  และนำผักปลอดสารพิษออกขายในท้องตลาด
2.

โครงงานอาชีพ การทำข้าวต้มมัด - Presentation Transcript

  1. โครงงานอาชีพการแปรรูอาหารจากกล้วย
    การทำข้าวต้มมัด
    โดย...
    นางรัศมีแข แสนมาโนช
  2. สาระสำคัญ
    ข้าวต้มมัด ข้าวต้มผัด ข้าวต้มกล้วย ทั้งสามชื่อนี้ คืออาหารหวานอย่างเดียวกัน แต่ชื่อที่เรียกอาจจะแล้วแต่ท้องถิ่นที่ตั้งคำจำกัดความ และส่วนผสม ของเจ้าของขนม ที่ทำด้วยข้าวเหนียวห่อด้วยใบตองแล้วมัด
  3. จุดประสงค์การเรียนรู้
    1
    1. บอกวัสดุการทำข้าวต้มมัดได้
    2
    2. บอกอุปกรณ์สำหรับการทำข้าวต้มมัดได้
    4
    3
    3. อธิบายขั้นตอนการจัดทำข้าวต้มมัดได้ถูกต้อง
    4. จัดทำข้าวต้มมัดไว้รับประทานและจำหน่ายได้ด้วยตนเอง
  4. แบบทดสอบก่อนเรียน
    คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวโดยใช้เมาส์คลิก
    ที่หน้าข้อที่คิดว่าถูกต้อง
    01
    1
    1. ข้อใดกล่าวถูกต้องในการใช้ใบตองห่อข้าวต้มมัด
    ก. ใช้ใบตองกล้วยที่ผ่านการผึ่งแดด
    ข. ใช้ใบตองกล้วยที่ตัดมาใหม่ ๆ
    ค. ใช้ใบตองกล้วยแก่จัด
    ง. ใช้ใบตองกล้วยแห้ง
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • แบบทดสอบก่อนเรียน
      02
      1
      2. ข้าวที่นิยมนำมาใช้ทำข้าวต้มมัดคือ
      ก. ข้าวเจ้า
      ข. ข้าวเหนียว
      ค. ข้าวเม่า
      ง. ข้าวสุก
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • แบบทดสอบก่อนเรียน
        03
        1
        3. ข้าวชนิดใดเวลาผัดแล้วต้องใส่กะทิมากกว่าธรรมดาข้าวจึงจะสุก
        ก. ข้าวสุก
        ข. ข้าวเม่า
        ค. ข้าวเหนียวค้างปี
        ง. ข้าวเจ้าค้างปี
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • แบบทดสอบก่อนเรียน
          04
          1
          4. ข้อปฏิบัติก่อนที่จะนำข้าวมาห่อทำขาวต้มมัดทำอย่างไร
          ก. แช่ข้าวก่อน
          ข. ใช้ข้าวสาร
          ค. ตำข้าวก่อน
          ง. นึ่งข้าวก่อน
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • แบบทดสอบก่อนเรียน
            05
            1
            5. ข้าวต้มมัดนิยมใส่ไส้ของข้าวต้มมัดด้วยอะไร
            ก. เนื้อ
            ข. นม
            ค. ไข่
            ง. ถั่ว
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • การทำข้าวต้มมัด
              การทำข้าวต้มมัด
              ข้าวต้มมัด เมื่อเรานำใบตองที่ห่อข้าวต้มจะต้องมีลักษณะพิเศษคือต้องเป็นใบตองกล้วยสวนที่ใบอ่อน ๆ และช่วงสั้น ๆ ต้องนำมาค้างคืนไว้สักคืนให้ใบตองนิ่ม
              ห่อออกมาแล้วจะสวยงามกล้วยที่เอามาทำก็ต้องสุกงอมมาทำเป็นไส้ข้าวต้มมัดเมื่อต้มเสร็จแล้วจะเป็นสีแดงและยังมีไส้อย่างอื่นอีก เช่น เผือก ถั่ว ข้าวที่นำมาห่อทำเป็นข้าวต้มมัดนั้นใช้ข้าวเหนียวไม่ต้องแช่น้ำถ้าเป็นข้าวต้มผัดข้าวเหนียวค้างปีจะต้องใส่กะทิมากหน่อยข้าวจึงจะสุก เมื่อเรานำข้าวเหนียวสดที่เตรียมมาวางลงบนใบตอง
              ที่เตรียมไว้นำกล้วย เผือก ถั่ว มาวางทำเป็นไส้เสร็จแล้วก็ห่อตามวิธีการให้แน่น ข้าวต้มมัดให้เอาห่อข้าวต้ม 2 ห่อมาประกบกันแล้วมัดด้วยเชือกกล้วยแล้วนำไปต้มต่อไป
              ส่วนข้าวต้มผัดเมื่อห่อเสร็จแล้วก็จัดวางเรียงเข้าหม้อนึ่งแล้วนำไปนึ่งต่อไปดังมีนำเสนอและฝึกปฏิบัติดังต่อไปนี้
              75%
            • อุปกรณ์และวัสดุ
              กะละมัง 4. มีดหั่น
              2. ใบตองกล้วย 5. เตาไฟ
              3. ลังถึง 6. กระทะ
              7. ตอกไม้ไผ่ หรือเชือก
            • ส่วนผสม
              ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม หัวกะทิ 3 ถ้วยตวง เกลือ 3 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 1 3/4 ถ้วยตวง กล้วยน้ำว้า 1 หวี ถั่วดำต้มแล้ว 300 กรัม
              ไส้เผือกกวน เผือกนึ่งแล้วบด 1 กิโลกรัม
              น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง
              กะทิข้น ๆ 1 ถ้วยตวง
              ครื่องห่อ ตอก, ใบตอง
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              แช่ข้าวเหนียวในน้ำอย่างน้อย 3 ชั่วโมงผสมกะทิ เกลือคนให้เข้ากัน ตั้งไฟพอเดือด ใส่น้ำตาลทรายลงกวนให้เข้ากัน จนกระทั่งพอเริ่มแห้ง ยกลงข้าวต้มมัด นำใบตองกล้วย ข้าวเหนียว มาเตรียมห่อ ส่วนข้าวต้มผัด ก็เตรียมผัดข้าวเพื่อจะนำมาห่อ
              01
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              ฉีกใบตอง ขนาด 8 นิ้ว , 7นิ้ว สองขนาด
              วางซ้อนกัน หยิบข้าวเหนียวที่ผัดได้ที่แล้ว
              ใส่กล้วยผ่าตามยาวครึ่งลูก หรือไส้เผือกกวน
              วางข้าวเหนียวทับไส้ให้มิดบางๆ ใส่ถั่วดำ
              ห่อข้าวต้มให้ สวยงาม มัดด้วยตอกหรือเชือก
              ให้แน่น ประกบคู่มัดเป็นสองช่วงหัวท้าย
              02
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              3. นึ่งข้าวต้มที่ห่อแล้วประมาณ 45 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จนข้าวเหนียวสุก ดังภาพ (การทำเผือกกวน ผสมส่วนผสมทั้งหมดรวมกันตั้งไฟกวนจนแห้งปั้นได้ นำไปใส่ไส้
              ข้าวเหนียว)
              03
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              หมายเหตุ
              ข้าวเหนียวจะต้องแช่น้ำไว้สักพักให้ข้าวเหนียวนิ่มต้องลด กะทิลง และ นึ่งในระยะสั้นกว่า ข้าวเหนียวที่ไม่ได้แช่น้ำให้นิ่ม แต่ส่วนใหญ่ ข้าวต้มมัดจะไม่แช่น้ำ แต่บางคน อาจจะมีสูตรที่แตกต่างออกไป
              ก็คงแล้วแต่ท้องถิ่นนั้นๆ ก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ทางแถบชาวสวน ชาวเมืองมุกดาหาร จะไม่ค่อยนำข้าวเหนียวไปแช่น้ำให้นิ่ม เหมือนกับที่เรามูนข้าวเหนียว
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              วิธีผัดข้าว นำกะทิ มาใส่น้ำตาล ใส่เกลือ ชิมรสให้เข้มข้นไว้ แล้วก็คนให้ละลายนำไปตั้งไฟให้เดือด พอกะทิ เดือดปุดๆ (ไม่ใช่เดือดพล่าน) ก็เอาข้าวเหนียวใส่ไป แล้วก็กวนไปไฟอ่อนๆ จนกว่า กะทิ จะแห้ง แล้วก็ยกลงตั้งทิ้งไว้ให้ ข้าวเย็น เสียก่อน ค่อยนำมาห่อ แล้วก็นำไปนึ่ง ให้สุก
            • ข้าวต้มมัดที่เสร็จสมบูรณ์
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              01
              บอกเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำข้าวต้มมัดได้แก่
              .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              02
              บอกหลักการในการทำข้าวต้มมัดได้ .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              03
              บอกขั้นตอนในการทำข้าวต้มมัดได้แก่
              .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • แบบทดสอบหลังเรียน
              คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวโดยใช้เมาส์คลิก
              ที่หน้าข้อที่คิดว่าถูกต้อง
              01
              1
              1. ข้อใดกล่าวถูกต้องในการใช้ใบตองห่อข้าวต้มมัด
              ก. ใช้ใบตองกล้วยที่ผ่านการผึ่งแดด
              ข. ใช้ใบตองกล้วยที่ตัดมาใหม่ ๆ
              ค. ใช้ใบตองกล้วยแก่จัด
              ง. ใช้ใบตองกล้วยแห้ง
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • แบบทดสอบหลังเรียน
                02
                1
                2. ข้าวที่นิยมนำมาใช้ทำข้าวต้มมัดคือ
                ก. ข้าวเจ้า
                ข. ข้าวเหนียว
                ค. ข้าวเม่า
                ง. ข้าวสุก
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • แบบทดสอบหลังเรียน
                  03
                  1
                  3. ข้าวชนิดใดเวลาผัดแล้วต้องใส่กะทิมากกว่าธรรมดาข้าวจึงจะสุก
                  ก. ข้าวสุก
                  ข. ข้าวเม่า
                  ค. ข้าวเหนียวค้างปี
                  ง. ข้าวเจ้าค้างปี
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • แบบทดสอบหลังเรียน
                    04
                    1
                    4. ข้อปฏิบัติก่อนที่จะนำข้าวมาห่อทำขาวต้มมัดทำอย่างไร
                    ก. แช่ข้าวก่อน
                    ข. ใช้ข้าวสาร
                    ค. ตำข้าวก่อน
                    ง. นึ่งข้าวก่อน
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • แบบทดสอบหลังเรียน
                      05
                      1
                      5. ข้าวต้มมัดนิยมใส่ไส้ของข้าวต้มมัดด้วยอะไร
                      ก. เนื้อ
                      ข. นม
                      ค. ไข่
                      ง. ถั่ว
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • เอกสารอ้างอิง
                        กรมอาชีวศึกษา. หลักการถนอมผลผลิตทางการเกษตร. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2523.
                        วณิชา เพชรสุวรรณ. โครงงานอาหารและโภชนาการ. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, ม.ป.ป.
                        วินิดา ฆารไสว. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องถนอมอาหาร
                        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษา
                        ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มาหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2548.
                        สุเพียร สารลึก. การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องถนอมอาหาร และ
                        การแปรรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
                        การศึกษาค้นคว้า อิสระ กศ.ม. มาหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • **จัดทำโดย **
                          รัศมีแข แสนมาโนช
                          ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านชาด
                          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
                        • ขอขอบคุณ
                          ผู้อำนวยการ
                          คณะครู และนักเรียน
                          โรงเรียนบ้านชาดทุกคน
                          การทำข้าวต้มมัด
                          จัดทำโดย...
                          รัศมีแข แสนมาโนช
                          ครูชำนาญการพิเศษ

                        เกษตรทฤษฎีใหม่

                        การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตรที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งขุดสระกักเก็บน้ำ จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สอง ปลูกข้าว จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สาม ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นและส่วนที่สี่ เป็นพื้นที่ที่ใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่ จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่ง เช่นครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกจำนวน 4 คน พื้นที่มีแหล่งน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี แต่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำก็ควรปรับลดพื้นที่ขุดสระ และเพิ่มพื้นที่นาข้าวเพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี


                          พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง จำนวน 3.6 ไร่ ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 2 สระ สามารถกักเก็บน้ำ
                        ได้รวม 10,455 ลูกบาศก์เมตร เพียงพอต่อการนำน้ำมาใช้ในการทำการเกษตรได้ทั้งปี
                        แต่การ
                        ผันน้ำมาใช้นั้น ยังคงต้องใช้เครื่องจักรกลในการสูบน้ำมาใช้ ทำให้สูญเสียพลังงาน
                        เชื้อเพลิง
                        จำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ถ้าสามารถลดการใช้พลังงานลงได้หรือ 
                        หาพลังงาน   เชื้อเพลิงอื่นทดแทน หรือมีการวางแผนการใช้น้ำ เช่น หากพื้นที่มีระดับที่ต่างกันมาก สามารถวางท่อนำน้ำออกมาใช้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำและน้ำมัน
                        เป็นการจัดการทำให้
                        ต้นทุนการเกษตรลดลงได้ในระยะยาว

                         
                                พื้นที่ส่วนที่สอง 3.6 ไร่ (30%) ใช้ปลูกข้าว ดำเนินการในปี 2547 เตรียมดิน หว่านกล้าและปักดำโดยใช้ข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 จำนวน 40 กิโลกรัม ทำการกำจัดวัชพืชในนาข้าว โดยการถอน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัมและปุ๋ยเคมีสูตร 40 – 0 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัม


                              พื้นที่ส่วนที่สาม 3.6 ไร่ (30%) ปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยแบ่งพื้นที่ปลูกดังนี้
                                                     
                        1. พื้นที่จำนวน 2 ไร่ ปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ จำนวน 50 ต้น
                        2. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกกล้วยน้ำหว้า จำนวน 60 ต้น
                        3. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกพืชผัก จำนวน 20 แปลง
                        4. พื้นที่จำนวน 0.6 ไร่ ปลูกไม้ใช้สอย อาทิเช่น
                        ต้นสัก จำนวน 30 ต้น
                        ต้นยูคาลิปตัส จำนวน 80 ต้น
                        ต้นไผ่รวก จำนวน 10 ต้น
                        ต้นไผ่ตง จำนวน 5 ต้น
                        ต้นหวาย จำนวน 30 ต้น

                            
                           พื้นที่ส่วนที่สี่ 1.2 ไร่ (10%) เป็นพื้นที่สร้างที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์
                        1. สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ จำนวน 1 หลังขนาด 3*4 เมตร เลี้ยงไก่แล้ว 3 รุ่น จำนวน 200 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว



                        2. สร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ดจำนวน 1 หลัง ขนาด 3*4 เมตร ใช้เลี้ยงเป็ด 3 รุ่น จำนวน 129 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว



                        3. สร้างโรงเรือนสุกร จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*19.5 เมตร ดำเนินการเลี้ยงสุกรจำนวน 20 ตัว



                        4. สร้างศาลาถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*10.5 เมตร ใช้เป็นพื้นที่แสดงและถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป



                        เศรษฐกิจพอเพียง

                        ทฤษฎีใหม่ คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่มักประสบปัญหาทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก
                                           ความเสี่ยงที่เกษตรกร มักพบเป็นประจำ ประกอบด้วย
                        ๑. ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร
                        ๒. ความเสี่ยงในราคาและการพึ่งพาปัจจัยการผลิตสมัยใหม่จากต่างประเทศ
                        ๓. ความเสี่ยงด้านน้ำ ฝนทิ้งช่วง ฝนแล้ง
                        ๔. ภัยธรรมชาติอื่นๆ และโรคระบาด
                        ๕. ความเสี่ยงด้านแบบแผนการผลิต
                        - ความเสี่ยงด้านโรคและศัตรูพืช
                        - ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนแรงงาน
                        - ความเสี่ยงด้านหนี้สินและการสูญเสียที่ดิน
                        ทฤษฎีใหม่ จึงเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                        ย้อนกลับด้านบน


                        ทฤษฎีใหม่
                                    ความสำคัญของทฤษฎีใหม่
                        ๑. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
                        ๒. มีการคำนวณโดยใช้หลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี
                        ๓. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง ๓ ขั้นตอน

                        ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น
                                                ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง
                                                พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ
                                                พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
                                                พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ ๓๐%