วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงงานอาชีพ

โครงงานอาชีพม.6_ ครูชัฏ ตระกูลสินทอง_โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี

Information

โครงงานอาชีพม.6_ ครูชัฏ ตระกูลสินทอง_โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี

เป็นพื้นที่เรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี รหัส ง 43103 หน่วยการเรียนรู้โครงงานอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 20 ชั่วโมง สอนโดยครูชัฏ ตระกูลสินทอง โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี

เว็บไซต์: http://www.kruchat.com
ที่ตั้ง: โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี
สมาชิก: 223
กิจกรรมล่าสุด: 16 hours ago

เงื่อนไขการใช้เว็บไซต์ ครูสอนดี

  1. เว็บครูสอนดีเป็นเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ของครูและนักเรียน เท่านั้น
  2. ไม่ใช้เพื่อส่วนตัว  ความบันเทิง การเมือง
  3. ครูชื่อผู้ใช้ เป็นภาษาไทย  ต้องมีคำนำหน้าว่าครู  ชื่อและนามสกุล
  4. นักเรียนชื่อผู้ใช้ เป็นภาษาไทย ไม่มีคำนำหน้า
  5. ข้อมูลส่วนตัวช่อง City ให้ใส่ชื่อโรงเรียน จังหวัด
  6. รูปต้องเป็นรูปที่สุภาพเท่านั้น  ไม่โพสรูปส่วนตัว รูปที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ เช่น
  7. ข้อความต้องสุภาพ และใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องเท่านั้น
  8. หากพบการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องของสมาชิกเครือข่าย จะปิดเครือข่ายนั้น ๆ
  9. การตั้งชื่อเครือข่าย ชื่อหน่วยการเรียนรู้_ครูผู้สอน_โรงเรียน จังหวัด
  10. เครือข่ายที่ถูกต้องจะได้รับการ อนุมัติ ภายใน 12 ชั่วโมง
  11. ที่ตั้งของหน่วยการเรียนรู้ เป็นชื่อ โรงเรียน จังหวัด (คำเต็ม)
เว็บครูสอนดีเป็นเครือข่ายสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

โครงสร้างโครงงาน
1. ชื่อโครงงาน
2. หน่วยงาน / ผู้รับผิดชอบ
3. ระยะเวลาดำเนินโครงงาน
4. หลักการและเหตุผล
5. วัตถุประสงค์
6. เป้าหมาย
7. สถานที่ดำเนินงาน
8. วิธีดำเนินงาน
9. งบประมาณ
10. การติดตามประเมินผล
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงาน

ชื่อโครงงานเป็นสิ่งสำคัญประการแรก เพราะชื่อจะช่วยโยงความคิดไปถึงวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานและควรกำหนดชื่อโครงงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักด้วย การตั้งชื่อนิยมตั้งให้มีความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจ แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ผู้ทำโครงงานอาชีพ ต้องเข้าใจปัญหาที่สนใจศึกษาอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างแท้จริงด้วย เช่น โครงงานประดิษฐ์ดอกไม้จากเศษผ้า โครงงานประดิษฐ์ไม้แกะสลัก โครงงานทำเรือจำลอง โครงงานรดน้ำพืชด้วยอาศัยความชื้นในดิน โครงงานการเลี้ยงไก่พื้นเมือง โครงงานศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น สำหรับชื่อโครงงานส่วนใหญ่มาจากงานที่ต้องการปฏิบัติ ซึ่งจะต้องระบุให้ชัดเจน เหมาะสม และเฉพาะเจาะจง สื่อความหมายเข้าใจง่าย

การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานอาชีพ เป็นจำเป็นเพื่อจะได้ทราบว่าโครงงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของใคร หรือโครงงานนี้อยู่ในความรับผิดชอบของใคร เมื่อมีปัญหาจะได้ติดต่อประสานงานได้ง่าย

หลักการและเหตุผล แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นหรือความสำคัญ หรือภูมิหลังในการจัดทำโครงงาน ซึ่งจะต้องระบุถึงเหตุผลและข้อมูล หรือทฤษฎีต่าง ๆ มาสนับสนุนโครงงานให้ปรากฎโดยชัดเจนอย่างสมเหตุสมผล เพื่อให้การสนับสนุนและอนุมัติโครงงาน
การเขียนหลักการและเหตุผลในส่วนนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
1. ความเป็นมาของโครงงานย่อ ๆ
2. เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีโครงานนั้น ๆ
3. วิธีการดำเนินโครงงานย่อ ๆ
ทั้งนี้ การเขียนในส่วนต่าง ๆ ดังกล่าว ควรกระชับ ตรงประเด็น มีหลักฐาน ข้อมูลเหตุผลในรูปของข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ และมีความเป็นไปได้

ตัวอย่างการเขียนหลักการและเหตุผล โครงงานการผลิตดินผสมปลูกพืช
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบัน ดินผสมปลูกพืชกำลังเป็นที่ต้องการของประชาชนที่นิยมชมชอบกับงานอดิเรกปลูกต้นไม้ และแม้แต่ที่ปลูกต้นไม้เป็นอาชีพ โดยเฉพาะงานปลูกไม้ดอกไม้ประดับในภาชนะ หรือพืชผักต่าง ๆ ทั้งในเมืองหลวงและในท้องถิ่น ต่างก็หาซื้อดินผสมปลูกพืชที่บรรจุในถุงพลาสติกวางจำหน่ายอยู่ทั่วไป จึงเกิดธุรกิจการซื้อขายดินผสมปลูกพืชขึ้นอย่างกว้างขวางตามท้องถิ่นต่าง ๆ ดังจะเห็นได้จากในตลาดจำหน่ายวัสดุการเกษตรจะมีผู้ผลิตสินค้า ดินผสมจำหน่ายในนามของดินผสมนายเด่น เป็นต้น การผลิตดินผสมปลูกพืชเป็นงานที่ทำได้ไม่ยากและไม่ค่อยสลับซับซ้อนมากนัก เพียงแต่ผู้ผลิตทราบสูตรและจัดหาวัสดุในท้องถิ่นมาผสมเข้าด้วยกัน ก็จะได้ดินผสมไปปลูกพืชเป็นอย่างดี ดังนั้น เมื่อได้จัดโครงงานผลิตดินผสมปลูกพืชขึ้นแล้ว ก็จะทำให้มีความรู้และประสบการณ์ในการศึกษาวิชาเกษตรกรรม ซึ่งสามารถช่วยเหลือครอบครัว ไม่ต้องไปหาซื้อดินผสมปลูกพืช ซึ่งสามารถทำได้ดี เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยให้มีการทดลองศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการปลูกพืชโดยใช้ดินผสมสูตรต่าง ๆ ในการศึกษาวิชาเกษตรกรรมระดับสูงต่อไปด้

วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงาน ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์หลายประเด็น ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน คือ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ ไม่เปิดโอกาสให้ตีความได้หลายอย่างอันจะทำให้ความหมายบิดเบือนไปจากเจตนารมย์ที่แท้จริง และสามารถประเมินผลและวัดได้

การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดีจะช่วยให้การกำหนดขั้นตอนสำหรับปฏิบัติเป็นไปอย่างรัดกุมและมีทิศทางไปในแนวเดียวกัน ตลอดจนส่งผลให้การปฏิบัติงานสามารถบรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ช่วยให้การวางแผนมีความถูกต้อง ชัดเจน และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น

1. ศึกษาสูตรดินผสมปลูกพืช จำนวน 3 สูตร
2. ทำการผลิตดินผสมปลูกพืช จำนวน 1 สูตร
3. ปลูกพืชเปรียบเทียบดินที่ผสมได้กับดินธรรมดาทั่วไป

เป้าหมาย (Targets) หมายถึงการแสดงผลผลิตขั้นสุดท้ายในแง่ปริมาณ จำนวนหรือการวัดความสำเร็จในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ เป้าหมายจึงคล้ายกับวัตถุประสงค์แต่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากกว่า มีการระบุสิ่งที่ต้องการกระทำหรือการไปถึงชัดเจนกว่าและระบุเวลาที่ต้องการบรรลุ ว่าจะแล้วเสร็จในวันที่เท่าไร เดือนอะไร ปีใด โดยใคร และอย่างไร นอกจากนั้นอาจมีการกำหนดเป้าหมายเชิงคุณภาพควบคู่ไปด้วยก็ได้

ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการตามโครงงาน จะเป็นการระบุระยะเวลาและสถานที่หรือพื้นที่เป้าหมายที่จะจัดกิจกรรม ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงงานและในกรณีที่เป็นโครงงานระยะยาวมีหลายขั้นตอน ก็จะต้องแสดงช่วงเวลาในแต่ละขั้นตอนนั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเพื่ออนุมัติโครงงาน ตัวอย่างเช่น
ระยะเวลา : 1 เดือน วันที่ 1 - 31 พฤษจิกายน 2553
สถานที่ดำเนินงาน : ศูนย์เกษตรกรรม โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี

งบประมาณ และทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินงานโครงงาน จะเป็นการระบุถึงจำนวนเงิน จำนวนบุคคล จำนวนวัสดุ-ครุภัณฑ์ และปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน รวมถึงแหล่งที่มาของเงินทุนและทรัพยากรดังกล่าว โดยกำหนดหรือจัดทำเป็นงบประมาณการลงทุนนั่นเอง
การจัดทำงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินงาน ผู้วางแผนควรต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ 4 ประการในการจัดทำโครงงาน โดยจะต้องจัดเตรียมไว้อย่างเพียงพอและจะต้องใช้อย่างประหยัด ดังนี้
ความประหยัด (Economy) คือใช้งบประมาณเป็นไปอย่างประหยัดตามสมควรแต่ผลการดำเนินานไปด้วยดีและมีคุณภาพ
ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ โครงงานวิชาชีพที่เลือกสรรแล้ว จะต้องมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับและทุกคนมีความพึงใจในผลงานที่เกิดขึ้น
ความมีประสิทธิผล (Effectiveness) โครงงานวิชาชีพที่เลือกสรรแล้ว จะต้องดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
ความยุติธรรม (Equity) คือ การจัดสรรทรัพยากร หรือการใช้จ่ายงบประมาณจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง คล่องตัว และมีประสิทธิภาพสูงสุด

ผลที่คาดว่าจะได้รับ แสดงถึงผลประโยชน์ที่ผู้ดำเนินงานและผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้รับหลังโครงงานสิ้นสุดลง ซึ่งหมายถึงผลกระทบในทางที่ดี ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้จะระบุไว้ชัดเจนว่าใครจะได้รับผลประโยชน์และผลกระทบในลักษณะอย่างไร ทั้งด้านปริมาณ และด้านคุณภาพ

การติดตามและประเมินผล เป็นการระบุว่ามีการติดตาม การควบคุม การกำกับ และการประเมินผลโครงงานอย่างไร จะประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานโครงงานได้อย่างไรใครเป็นผู้รับผิดชอบ โดยระบุวิธีหรือเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินด้วย ทั้งนี้หัวข้อของการประเมินจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามโครงงานด้วย

ดังนั้น เพื่อให้การติดตามและประเมินผลโครงงานสอดคล้องกันระหว่างการวางแผนกับการปฏิบัติงาน จะประเมินเป็น 3 ระยะ คือ
1. ประเมินผลก่อนการทำโครงงาน หรือก่อนการปฏิบัติงาน 20 คะแนน
2. ประเมินผลระหว่างที่มีการทำโครงงาน 60 คะแนน
3. ประเมินผลภายหลังการทำโครงงาน 20 คะแนน

แสดงการคาดคิดว่า การดำเนินงานตามโครงงานนี้ จะมีปัญหาและอุปสรรคใดบ้าง ทั้งในด้านตัวบุคคลที่ร่วมงาน ขั้นตอนการปฏิบัติ ภัยธรรมชาติ ตลาดจำหน่ายและอื่น ๆ ที่เห็นว่าน่าจะเกิดขึ้น พร้อมชี้แจงสาเหตุที่อาจเกิดขึ้นด้วย รวมทั้งแนวทางแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคที่ไม่เป็นไปตามแผนขั้นตอนการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน ระยะเวลา วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดด้วย
ตัวอย่าง การเขียนปัญหาอุปสรรค์
1. ผลการตอบแทนการดำเนินงานโครงงาน ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เนื่องจากไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้
2. การคาดคะเนยอดขายผิดพลาด เนื่องจากสภาวะแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีคู่แข่งขันรายใหม่ หรือพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง
3. หน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายทำได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากสมาชิกบางคนมีภาระด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น
4. ขาดความร่วมมือหรือขาดการสนับสนุนในการดำเนินงานโครงงานของผู้เรียนและมีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น